phone
Call us now02-761-9936
Post

เทรนด์การตลาดครึ่งปีหลัง ปี 2021 มีอะไรที่น่าจับตามองบ้าง?


 

"พฤติกรรมสถานการณ์ COVID-19 ระรอก 3 ที่กำลังระบาดในวงกว้างมากขึ้น ส่งผลกระผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทย และผู้บริโภค วิธีการซื้อสินค้าและการเสพสื่อของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ต้องกักตัวอยู่บ้าน จากการออกไปทำงานข้างนอกก็ต้อง Work From Home จึงกลายเป็นโจทย์สำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องหากลยุทธ์ เพื่อจะฝ่าคลื่นแห่งการดิสรับชั่น และก้าวเข้าสู่ยุค Next Normal แต่ในวิกฤตยังมีโอกาสเสมอ วันนี้ Sampedia by Samsonite จะพาทุกท่านไปดูเทรนด์ และนวัฒกรรมใหม่ ๆ ที่กำลังทำให้โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน ทำให้เทรนด์ต่าง ๆ เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทรนด์การตลาด 2021 ที่ต้องนำกลยุทธ์มากมาย มาปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้นผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีความรวดเร็ว และต้องให้ความสนใจกับกระแสต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อจะได้นำมาปรับกับธุรกิจของตัวเองให้เติบโตและอยู่รอด 

ในมุมมองของการตลาด ธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วทั้งในด้าน กลยุทธ์ แนวคิว นวัฒกรรม ที่สำคัญต้องเร็วและทันเวลา เพราะเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปทางออนไลน์มากขึ้น ธุรกิจก็ต้องปรับตัวตาม โดย Sampedia by Samsonite ได้รวบรวม 5 เทรนด์การตลาดปี 2021 มาให้ผู้ประกอบการได้รับรู้กัน เพื่อให้เข้าใจ เตรียมตัว และปรับแผนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

AI พลิกธุรกิจ ตัวช่วยอันชาญฉลาด ของผู้ประกอบการใน “ยุคดิจิตอล”

AI เป็นเทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาด สามารถคิด วางแผน รวมถึงการวิเคราะห์ จากการประมวลผลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วเเละมีความแม่นยำสูง สำหรับผู้ประกอบการเอง เป้าหมายที่สำคัญของการทำการตลาดก็คือ การเพิ่มยอดขายของสินค้าและทำให้สินค้านั้นเป็นที่สนใจของผู้บริโภค ซึ่ง AI เป็นเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยให้ผู้ประกอบการบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการระบุกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า และช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค รวมไปถึงช่วยให้การทำโฆษณาเเละโปรโมทสินค้าดีขึ้น

ตัวอย่างเช่น Facial Recognition หรือเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่เข้ามาตอบรับกับธุรกิจประเภทค้าขาย และอยากรู้ว่าลูกค้ามีความรู้สึกอย่างไรกับสินค้า โดยเทคโนโลยีนี้สามารถอ่านอารมณ์ลูกค้าที่เดินเข้ามาในร้านได้ เช่น การยิ้มแสดงถึงความพึงพอใจ ขมวดคิ้วหมายถึงสงสัยหรืออาจยังไม่ได้รับความพึงพอใจ การอ่านสีหน้าลูกค้า รวมถึงงานด้าน Call Center แผนกที่ต้องโทรศัพท์ติดต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพราะในแต่ละวันอาจต้องติดต่อลูกค้าจำนวนมาก เช่น การโทรศัพท์เสนอบริการต่างๆ ซึ่งหากเป็นคนทำงานลักษณะนี้ทั้งวัน ย่อมเกิดความเหนื่อยล้า หรือความเครียด แต่ AI ไม่มีอารมณ์ แต่สำหรับฝ่าย Call Center ที่ต้องรับโทรศัพท์ลูกค้า ไม่แนะนำให้ใช้ AI เพราะเป็นงานที่ต้องสร้างสัมพันธ์กับลูกค้า การให้ความช่วยเหลืออย่างเห็นอกเห็นใจ คนจะสามารถทำได้ดีกว่าและเป็นธรรมชาติ

สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้อาจเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงต้องมีแผนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และข้อดีของยุคที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและเครื่องมือที่เป็นประโยชน์มากมาย ในรูปแบบการให้ใช้ฟรี หรืออาจต้องแลกด้วยค่าบริการบ้าง ซึ่งเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ สามารถลดขั้นตอนการทำงานและลดแรงงานได้มาก

การตลาดแบบ 1 ต่อ 1 สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจมากขึ้น

 

การล็อกดาวน์ การต้องใช้ชีวิตแบบ New Normal ส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปซื้อสินค้าใหม่ ๆ ที่ตอบสนองตามสภาวะที่เปลี่ยนไป และพร้อมที่จะสลับสับเปลี่ยนตลอดเวลาตามความจำเป็น ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหันมาใส่ใจกับการทำการตลาดแบบ 1 ต่อ 1 โดยปัจจุบันผู้บริโภคมีแนวโน้มเปลี่ยนสินค้าที่ตัวเองใช้ประจำมากกว่าเดิมถึง 18% และเปลี่ยนสินค้าไปเลย เพราะสินค้าเดิมที่ใช้อยู่ไม่ตอบโจทย์ เหตุผลที่สำคัญคือช่องทางช้อปออนไลน์ทำให้ผู้บริโภคได้เจอกับสินค้าและทางเลือกที่มากมายหลากหลายขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกแค่ 2 ทางคือ ลงทุนโฆษณาเพื่อให้คนเห็นมากกว่าเดิม เพื่อนำเสนอโปรโมชัน เพื่อดึงให้คนสนใจและซื้อของเราอยู่ อีกทางหนึ่งคือเลือกที่จะสร้างความสัมพันธ์แบบ 1 ต่อ 1 โดยส่งมอบประสบการณ์ระยะยาวให้แทน โดยการดึงเอาผู้บริโภคมาอยู่ในช่องทางเฉพาะของแบรนด์ที่เราสามารถติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง เช่น จากเดิมที่มีการติดต่อกับผู้บริโภคผ่านเพจหรือโฆษณา Facebook ต่อมาก็สร้าง Facebook Group หรือ LINE OpenChat และสร้าง Exclusive Content หรือ Exclusive Promotion ให้กับผู้ที่ติดตามโดยเฉพาะ เราจะพบเห็นกลยุทธ์แนวนี้มากขึ้น ที่ได้มุ่งเน้นประสบการณ์เฉพาะผู้ติดตามและการสร้างความสัมพันธ์โดยตรงมากขึ้น

 

Big Data ใครมีข้อมูลมากกว่า ย่อมได้เปรียบในการวิเคาะห์เชิงการแข่งขัน

 

กลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่ส่งผลกระทบต่อวงการ Data เนื่องจากแนวทางของผู้ให้บริการเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกที่เริ่มขยับเข้าสู่โลกไร้ Cookie ซึ่งเป็นชุดข้อมูลเพื่อติดตามพฤติกรรมบนออนไลน์และนำมาวิเคราะห์การยิงโฆษณา หรือวิเคราะห์การพัฒนาประสบการณ์ผู้บริโภคบนออนไลน์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้สอดคล้องกับเทรนด์โลกว่าด้วยเรื่อง Privacy มากขึ้น สิ่งที่กระทบแน่ๆ คือบรรดาผู้ที่พึ่งพา DMP หรือ (Data Management Platform) เป็นระบบจัดการข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค (แบบไม่ระบุตัวตน) เพื่อการทำโฆษณาแบบ Programmatic หรือใช้ข้อมูลวิเคราะห์เพื่อการยิงที่แม่นยำโดยปราศจากมนุษย์
โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเปลี่ยนรูปแบบของการทำ Data Marketing เนื่องจากจะทำให้ผู้ประกอบการต้องลงทุนเก็บ Data เอง และแน่นอนว่าการเก็บข้อมูลเองต้องการระบบจัดการที่ดีอย่าง CDP (Customer Data Platforms) ที่จัดเป็นเทคโนโลยีทางการตลาดที่เข้ามาช่วยบริหารข้อมูลภายใน ซึ่งข้อแตกต่างชัดเจนคือสามารถระบุตัวตนและพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ แต่ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้กฎหมายความคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภค หรือ PDPA นี่คือข้อได้เปรียบขององค์กรที่เริ่มขยับทำ CDP และใส่ใจกับ Data ที่จะสามารถต่อยอดไปยังกิจกรรมทางการตลาดอื่นๆ มากมาย เช่น การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การออกสินค้าและบริการตามแต่ละเซกเมนต์ การทำ Personalization การทำ CRM หรือ Customer Relationship Management เป็นต้น

 

Video Clip กำลังมาแรง เข้าถึงลูกค้าง่าย

 

ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลผ่านช่องทาง Youtube กำลังเป็นที่นิยมอันดับที่ 2 รองจาก Google ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเสพ Video Cilp ส่งผลให้การทำคอนเทนต์แบบ Video Cilp เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และมากกว่าการทำคอนเทต์ประเภทอื่น ๆ ซะอีก ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอสั้น ๆ อย่าง TikTok , Facebook , Instagram Story หรือวีดีโอยาวๆ ใน Youtube ด้วยคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะนอกจากจะได้เรื่อง Engagement แล้ว ยังทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์และสินค้าได้ดีขึ้นด้วย ทั้งนี้ข้อมูลจาก breadnbeyond เปิดเผยว่า
        78% ของผู้บริโภคดูวิดีโอออนไลน์ทุกสัปดาห์ และมีถึง 55% ที่ยอมรับว่าดูทุกวัน
        72% ของผู้บริโภคชอบดูข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่าง ๆ ผ่านวิดีโอมากกว่าคอนเทนต์รูปแบบอื่น ๆ
        95% ของผู้บริโภคจดจำเนื้อหาในถึงวิดีโอได้
        81% ของกลุ่มธุรกิจใช้วิดีโอเป็นส่วนหนึ่งของ Marketing Strategy

 

อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการเสพวีดีโอในแต่ละแพลตฟอร์มมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น คลิปยาว คลิปสั้น คลิปตลก คลิปเกม คลิปรีวิว เช่นคนยอมรับการเสพวีดีโอยาวบน Youtube และไม่ชอบเสพวีดีโอยาวบน Facebook ดังนั้นผู้ประกอบการควรวางแผนการทำวีดีโอให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทาง
นอกจากนี้จากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้หลายคนจำเป็นจะต้องอยู่บ้าน งดการออกไปพบปะผู้คน งดการใช้ชีวิตภายนอก แต่การกักตัวเองในบ้านเป็นเวลาหลาย ๆ วัน ก็อาจจะทำให้หลายคนรู้สึกเครียด และหาเครื่องมือในการช่วยบรรเทาความเครียดนี้ ทำให้ในช่วงของสถานการณ์ที่ผ่านมา มีกระแสของการใช้งานแอปพลิเคชั่นหนึ่งที่นิยมเป็นอย่างมาก นั่นคือ “TikTok” เนื่องจากเป็นแอปพลิเคชั่นในการสร้างสรรค์วิดีโอสั้นๆ เน้นความสนุก ตลก ผ่อนคลายความเครียด ซึ่งตอบโจทย์พฤติกรรมความชอบของผู้บริโภค จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ผู้ประกอบสามารถสร้างแคมเปญเพื่อใช้เข้าถึงตลาด Gen Z 

การแสดงจุดยืนด้านจริยธรรมทางการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม

 

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตมากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ฝุ่น PM 2.5 และ COVID-19 ที่ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อวงการการตลาดอย่างมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมมากกว่าเดิมในการกดดัน สนับสนุน กำหนดทิศทาง กำหนดภาพลักษณ์ของแบรนด์จากการกระทำของแบรนด์เอง ทำให้ผู้ประกอบการต้องวางแผนล่วงหน้าในการรับมือ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและใส่ใจต่อสังคมมากยิ่งขึ้น Corporate Social Responsibility (CSR) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้แบรนด์ได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจากกลุ่มผู้บริโภค ตลอดจนสังคมโดยรวม ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการได้หันมาให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และยอดขายของแบรนด์ โดยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมสามารถนำไปสอดแทรกได้ทุกขั้นตอนของการทำธุรกิจ แบ่งเป็น กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีผลต่อองค์กรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน กระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อลูกค้า กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น กิจกรรมปลูกป่า การบริจาคทุนการศึกษา การรณรงค์สร้างจิตสำนึกและการช่วยเหลือประสบภัย ซึ่งส่งผลให้แบรนด์ได้รับความนิยมและการยอมรับในทางที่ดี 

 


ที่มา
McKinsey & Company COVID19 Consumer Pulse Survey
breadnbeyond
www.thinkwithgoogle.com"